เหล็กสำหรับงานโครงสร้างน้ำหนักเบาแต่รับแรงดึงสูง

เหล็กสำหรับงานโครงสร้างน้ำหนักเบาแต่รับแรงดึงสูง

การออกแบบโครงสร้างที่ต้องรับภาระสูงโดยมีน้ำหนักตัวเองลดลงหรือใช้เหล็กน้อยลงเป็นประเด็นสำคัญในวงการวิศวกรรมโครงสร้างในปัจจุบัน โดยเฉพาะในกรณีที่มีความต้องการในการสร้างโครงสร้างที่มีประสิทธิภาพและทนทานต่อการใช้งานในระยะยาว ในอดีตความแข็งแรงของโครงสร้างจะมาพร้อมกับการเลือกใช้เหล็กที่มีความหนาเพิ่มขึ้น เราจึงได้โครงสร้างที่แข็งแรงแต่แลกกับน้ำหนักของตัวโครงสร้างที่มากขึ้น จึงทำให้โครงสร้างสามารถรับน้ำหนักแรงภายนอกหรือรับภาระได้ไม่มากเท่าที่ควร การใช้เหล็กกล้าทำโครงสร้างที่ต้องรับภาระสูง อย่างเช่นสะพาน, Scissor Liftในท่าอากาศยาน หรือตึกที่สูง อาจจะเกิดความท้าทายในเรื่องของน้ำหนักที่มากเกินไปซึ่งอาจมีผลต่อร้ายต่อการสร้างและการรับน้ำหนักของโครงสร้างเอง แล้วจะทำอย่างไรเพื่อให้ได้โครงสร้างที่แข็งแรงและรับแรงภายนอกได้มากด้วยเช่นกัน  ปัจจุบันได้มีผู้ผลิตเหล็กกล้าสำหรับงานโครงสร้างน้ำหนักเบาแต่รับแรงดึงสูง ที่มีคุณสมบัติในการรับแรงดึงที่สูงพิเศษและมีความแข็งแรงที่ดี

การลดน้ำหนักของโครงสร้างสามารถทำได้โดยการใช้เหล็กล้าที่มีคุณสมบัติพิเศษคือรับแรงดึงสูงพิเศษ เป็นเหล็กกล้าที่มีเทคโนโลยีการผลิตที่ให้ประสิทธิภาพสูงเพื่อเพิ่มความสามารถในการรับแรงดึงได้มากขึ้น ทำให้เราสามารถใช้เหล็กที่มีความหนาบางลงแต่มีความแข็งแรงเพิ่มขึ้น จะได้ผลลัพธ์เป็นการลดน้ำหนักโครงสร้างโดยไม่สูญเสียความแข็งแรงทนทานและความปลอดภัยของโครงสร้างเอง

ดังนั้น การออกแบบโครงสร้างที่ต้องรับภาระสูงโดยมีน้ำหนักตัวเองลดลงหรือใช้เหล็กน้อยลง มักจะมีการใช้เหล็กล้ารับแรงดึงสูงพิเศษ ลีอองจินมีเหล็กชนิดนี้หลายแบรนด์ให้เลือกใช้อาทิเช่นPerform700, JFE Hiten780LE และเหล็กของเราได้รับความไว้วางใจจากกลุ่มลูกค้าในอุตสาหกรรมอากาศยาน ซึ่งเป็นอุตสาหกรรมที่ต้องปฏิบัติตามข้อกำหนดดด้วยความเข้มงวด

อุตสาหกรรมอากาศยานคืออุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องกับการออกแบบ ผลิต และใช้งานอากาศยาน ซึ่งประกอบด้วยเครื่องบิน โดรน ดาวเทียม ยานอวกาศ และอุปกรณ์สนับสนุนในท่าอากาศยาน อุตสาหกรรมอากาศยานมีความสำคัญต่อการขนส่งทางอากาศ การท่องเที่ยว การค้นคว้า และการป้องกันประเทศ

อุตสาหกรรมอากาศยานมีความท้าทายสูง และต้องปฏิบัติตามมาตรฐานและข้อกำหนดที่เข้มงวด ทั้งด้านความปลอดภัย คุณภาพ และสิ่งแวดล้อม สินค้าของลีอองจินได้รับความไว้วางใจให้เป็นส่วนหนึ่งในอุตสาหกรรมนี้ อุตสาหกรรมอากาศยานยังต้องปรับตัวตามการเปลี่ยนแปลงและการพัฒนาของเทคโนโลยี การแข่งขัน และความต้องการของลูกค้า

อุตสาหกรรมอากาศยานในประเทศไทยมีศักยภาพในการเติบโต โดยมีสนามบิน สายการบิน และศูนย์ซ่อมบำรุงอากาศยาน อีกทั้งยังมีผู้ประกอบการผลิตชิ้นส่วนอากาศยาน และวัสดุคอมโพสิตที่มีคุณภาพสูง อุตสาหกรรมอากาศยานได้รับการสนับสนุนจากนโยบายและโครงการของรัฐ เช่น โครงการพัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (EEC) และโครงการส่งเสริมการลงทุนในภาคอุตสาหกรรมอากาศยาน (Aerospace Industry Promotion Act)

อ่านเพิ่มเติมลักษณะการใช้งานอื่นๆได้ตามลิ้งข้างล่างนี้

thTH